เปิดสถิติ 5 มะเร็งที่คนไทยเป็นเยอะที่สุด รักษามะเร็งต้องใช้เงินค่ารักษาเท่าไหร่

เวลาอ่าน 7 นาที
แบ่งปัน
เปิดสถิติ 5 มะเร็งที่คนไทยเป็นเยอะที่สุด รักษามะเร็งต้องใช้เงินค่ารักษาเท่าไหร่

มะเร็ง คือโรคที่เกิดจากการเจริญเติบโตผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย แบ่งตัวอย่างไม่สามารถควบคุมได้ และสามารถลุกลามหรือแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมะเร็งถือเป็นโรคที่หลายคนหวาดกลัวมากที่สุด เพราะตรวจพบเจอได้แบบไม่ทันตั้งตัว อีกทั้งยังต้องใช้ค่ารักษาที่สูง เพื่อเตรียมพร้อมรับมือในยามเกิดเหตุไม่คาดฝัน เราจึงได้รวบรวมสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับมะเร็งในประเทศไทย เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคนี้

สถิติมะเร็งในคนไทย ร้ายแรงแค่ไหน?

จากข้อมูลล่าสุดในปี พ.ศ. 2566 จากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เผยว่าในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งกว่า 86,000 คน และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้สถาบันมะเร็งยังระบุว่าในปี 2565 ยังพบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ประมาณ 140,000 ซึ่งชนิดมะเร็งที่ตรวจพบได้มากที่สุด 5 อันดับแรกในผู้ป่วยรายใหม่ จำแนกได้ดังนี้

ประกันมะเร็ง

5 อันดับโรคมะเร็งที่พบในผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ ปี 2565 (ข้อมูลจาก สถาบันโรคมะเร็ง)

1.มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก 2.มะเร็งตับและท่อน้ำดี 3.มะเร็งปอด 4.มะเร็งเต้านม 5.มะเร็งปากมดลูก

ปัจจัยเสียงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง

ประกันมะเร็ง

องค์การอนามัยโลก ระบุว่า โรคมะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัย ทั้งพฤติกรรมในการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่, การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ การขาดการออกกำลังกาย รวมถึงมลพิษทางอากาศที่เราต้องสูดดมในการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนี้มะเร็งยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการการติดเชื้อเรื้อรังในบางชนิด เช่น เชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร (elicobacter pylori), ไวรัส HPV (human papillomavirus), ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B virus), ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C virus) และ ไวรัส Epstein-Barr โดยไวรัส HPV บางสายพันธุ์อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกสูงถึง 6 เท่า ส่วนไวรัสตับอักเสบบีและซี อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งตับได้

รักษาโรคมะเร็ง ต้องใช้ค่ารักษาพยาบาลเท่าไหร่

ค่ารักษาพยาบาลโรคมะเร็งมีความหลากหลายตามความยากง่าย และตามจำนวนครั้งการรักษา ซึ่งมะเร็งแต่ละชนิดต้องการวิธีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง แตกต่างกันออกไป โดยมีทั้งการผ่าตัด การฉายรังสี หรือการรักษาด้วยยา (เช่น เคมีบำบัด ฮอร์โมนบำบัด หรือการใช้ยามุ่งเป้า) หรือในบางรายต้องใช้การรักษาร่วมกันหลายวิธีเพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด สำหรับผู้ที่กังวลในด้านค่ารักษา หากวันหนึ่งตรวจเจอโรคมะเร็งที่พบบ่อย อาจต้องเตรียมค่ารักษาพยาบาลสำหรับการฉายรังสีไว้ ดังนี้

5 โรคมะเร็งที่พบในคนไทย และค่ารักษาด้วยเทคนิคต่างๆ ข้อมูลจาก สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

เบื้องต้นค่าใช้จ่ายในตารางนั้นเป็นเพียงแค่ค่าใช้จ่ายประมาณการหากฉายรังสีในเวลาราชการเท่านั้น หากต้องมีการผ่าตัดร่วมด้วย หรือโรคมีการรุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายและต้องใช้วิธีรักษาด้วยเคมีบำบัด (คีโม) ร่วมด้วย ก็อาจทำให้ค่ารักษาสูงขึ้นเป็นเท่าตัว นอกจากนี้ยังมีปัจจัยด้านสถานพยาบาล ที่หากรักษาในสถานพยาบาลเอกชนก็อาจทำให้ค่ารักษาสูงขึ้นไปจากตารางดังกล่าวถึง 2.5 - 7 เท่า

วิธีลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง

เราสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ง่าย ๆ เพียงหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรค และปฎิบัติตามคำแนะนำจากองค์การอนามัยโลก ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ถึง 30 – 50% ดังนี้ 1.งดการสูบบุหรี่ หรือยาสูบต่าง ๆ 2.งดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3.ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 4.ทานอาหารที่เป็นประโยชน์ เช่น ผัก และ ผลไม้ 5.ออกกำลังกายสม่ำเมอ 6.หลีกเลี่ยงรังสี UV และ ใช้ครีมกันแดดเป็นประจำ 7.หลีกเลี่ยงการสูดดมมลพิษทางอากาศ 8.เข้ารับวัคซีนป้องกันไวรัส HPV และไวรัสตับอักเสบบี

ประกันมะเร็ง

เตรียมความพร้อมด้านค่าใช้จ่าย ด้วยประกันมะเร็ง

โรคมะเร็งถึงแม้ว่าจะเป็นภัยเงียบที่อาจพบเจอโดยที่ไม่ทันได้ตั้งตัว แต่เราสามารถเตรียมการรับมือด้านค่าใช้จ่ายหากเกิดเหตุไม่คาดฝันได้ ด้วยประกันโรคมะเร็ง โดยรูปแบบที่ได้รับความนิยมที่สุดก็คือประกันในลักษณะ “เจอ จ่าย จบ” ที่เมื่อตรวจเจอมะเร็งตามเงื่อนไขที่กรมธรรม์ระบุ ก็จะได้รับเงินก้อนเพื่อใช้รักษาพยาบาล ช่วยลดภาระทางการเงิน อีกทั้งยังสามารถนำเบี้ยฯ ประกันภัยไปลดหย่อนภาษี ตามกฎของกรมสรรพากรได้อีกด้วย

เปรียบเทียบประกันมะเร็งใน 2 วิ ครอบคลุมมะเร็งทุกระยะ ตรวจเจอมะเร็งจ่ายทันที ซื้อง่าย ไม่ต้องตรวจสุขภาพ สมัครและคุ้มครองเลย เบี้ยประกันลดหย่อนภาษีสูงสุด 25,000 บาท https://sawaddee.com/Cancer LINE: @sawaddee.com หรือโทรหาเรา 0882226651

ที่มา: เมืองไทยประกันภัย อ้างอิง: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, World Health Organization (WHO)

Sawaddee Update!

อัปเดททุกเรื่องราว เกี่ยวกับสิ่งที่คุณควรรู้

บริษัท สวัสดีคอร์ปอเรชั่น จำกัด

ช่องทางติดต่อ