ควรดูแลตัวเองยังไง ให้สุขภาพไม่พัง ปลอดภัยจากฝุ่น PM 2.5

เวลาอ่าน 5 นาที
แบ่งปัน
ควรดูแลตัวเองยังไง ให้สุขภาพไม่พัง ปลอดภัยจากฝุ่น PM 2.5

ถือได้ว่าเป็นปัญหายาวนานมานับสิบปีของประเทศไทย ปัญหาฝุ่นละอองและมลพิษทางอากาศ อย่างฝุ่น PM 2.5 ที่ก่อปัญหาสุขภาพของคนในประเทศเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นกระตุ้นอาการภูมิแพ้อากาศ กระตุ้นอาการไมเกรน ภูมิแพ้ผิวหนัง และหลากหลายปัญหาสุขภาพ ซึ่งเราได้ทำการสูดดมไปทุกๆ วัน ซึ่งในจุดนี้การตะหนักถึงสุขภาพนั้นเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน เพราะถ้าสายเกินไป อาจจะเกิดการเจ็บป่วยที่หนักและเรื้อรังอย่างแน่นอน

ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร

เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมโครเมตร สามารถเข้าไปภายในร่างกายได้จนถึงปอดและกระแสเลือด ใน ฝุ่น PM 2.5 จะประกอบไปด้วย สารประกอบเคมีอินทรีย์ ไนเตรต ซัลเฟต ฝุ่นละออง ดิน แร่โลหะ สารก่อภูมิแพ้และสารก่อมะเร็ง ถือได้ว่าฝุ่น PM 2.5 ค่อนข้างเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งเราสามารถพบกับฝุ่น PM 2.5 ได้ทั้งภายนอกอาคารและภายในอาคาร อันเป็นผลพวงมาจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ดีเซลในยานพาหนะและอุตสาหกรรม การเผาไหม้ทางการเกษตร รวมถึงการปิ้งย่างด้วยเตาถ่านก็นับว่าผลิตฝุ่น PM 2.5 ด้วยเช่นกัน ซุึ่งอนุภาคของฝุ่น PM 2.5 สามารถเล็ดลอดเข้ามาในอาคารได้อยู่แล้ว

ผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5

  • ส่งผลต่อระบบการไหลเวียนของเลือด ส่งผลให้การไหลเวียนและแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ไม่ดี
  • เพิ่มอนุมูลอิสระให้แก่ร่างกาย ทำให้เกิดการอักเสบและเกิดความเสียหายต่อเซลล์ในร่างกาย
  • กระตุ้นให้เกิดมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งปอด
  • ส่งผลให้ระดับแคลเซียมภายในเซลล์ขาดความสมดุล
  • ระคายเคืองดวงตา จมูก ลำคอและหน้าอก
  • ไอ หายใจลำบากหรือปอดถูกทำลาย
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจเสี่ยงต่อภาวะหัวใจขาดเลือดหรือภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
  • มีผลต่อทารกสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์
  • เด็กและผู้สูงอายุเป็นช่วงอายุที่มีภูมิต้านทานต่ำ เสี่ยงได้รับอันตรายฝุ่น PM 2.5 มากกว่ากลุ่มคนช่วงอายุอื่น

ฝุ่น PM 2.5 จะต้องมีระดับความหนาแน่นเท่าไหร่ ถึงจะทำลายสุขภาพ

  • ระดับความเข้มข้นของดัชนีคุณภาพอากาศ 51 ถึง 100 (Air Quality Index : AQI 51 - 100) กลุ่มคนไข้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ จะเริ่มมีอาการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ อาการที่มี ได้แก่ หายใจเหนื่อยง่าย ไอ จาม
  • ระดับความเข้มข้นของดัชนีคุณภาพอากาศ 101 ถึง 150 (Air Quality Index : AQI 101 - 150) กลุ่มคนไข้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ จะเริ่มมีอาการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ อาการที่มี ได้แก่ หายใจหอบเหนื่อย และมีอาการไอหรือจามร่วมด้วย
  • ระดับความเข้มข้นของดัชนีคุณภาพอากาศ 151 ขึ้นไป (Air Quality Index : AQI 151 ขึ้นไป) กลุ่มคนไข้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ จะมีอาการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ อาการที่มี ได้แก่ หายใจหอบเหนื่อย และมีอาการไอหรือจามร่วมด้วย อีกทั้งอาจจะเกิดน้ำมูก คัดจมูก หรือผิวหนังอักเสบ และมีผื่นคันได้

วิธีสังเกตอาการแพ้ฝุ่น PM 2.5

สำหรับบุคคลทั่วไปอาจจะมีการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ มีอาการจาม ไอ น้ำมูกใส หรือหายใจติดขึด อาจจะมีอาการคันตา ตาแดงร่วมด้วย สำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบ โรคหอบหืด หรือโรคปอดอื่นๆ พบว่ามีอาการคัดจมูกรุนแรง ไอ น้ำมูก หายใจเสียงหวีด หอบ ในบางกรณีรุนแรงถึงขั้นระบบหายใจล้มเหลว อีกทั้งกลุ่มผู้ป่วยภูมิแพ้ผิวหนัง พบอาการคันมากและเกิดผื่นแดงตามผิวหนัง

วิธีดูแลตัวเองจากฝุ่น PM 2.5

  • เพิ่มช่วงเวลาพักผ่อนให้มากขึ้นและเพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ดื่มน้ำเพิ่มมากขึ้น ให้พอดีกับที่ร่างกายต้องการ
  • รับประทานอาหารที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน
  • หลีกเลี่ยงการออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือออกกำลังกายกลางแจ้ง
  • หากค่าของฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน ให้พิจารณามาออกกำลังกายภายในอาคารแทน พร้อมกับปิดประตูหน้าต่างให้สนิท
  • ใส่หน้ากากประเภทที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอนได้ เช่น หน้ากาก N95 (ต้องเป็นแบรนด์ที่ได้รับมาตรฐาน)
  • งดและหลีกเลี่ยงการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ เช่น งดการเผาในที่โล่ง งดใช้รถดีเซลที่ปล่อยควันดำ
  • ดูแลสุขภาพช่องปากและลำคอ โดยเน้นผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากที่มีส่วนผสมของดอกคาร์โมไมล์ เปปเปอร์มินต์ เบอร์กามอต ยูคาลิปตัส หรือเทียนสัตตบุษย์ เป็นต้น ช่วยบรรเทาอาการระคายคอและลดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก
  • หากมีงบประมาณ แนะนำให้ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศที่มี HEPA (High efficiency particulate air) filter

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 นั้นเป็นปัญหาที่สะสมมายาวนาน และไม่ได้รับการแก้ไขเสียที ดังนั้นการเริ่มต้นที่ตัวเองนั้นเป็นสิ่งที่จำเป้นต้องทำ นอกจากจะดูแลรักษาร่างกายตนเองให้แข็งแรงแล้ว ยังจำเป็นต้องมีแผนที่ช่วยรองรับความเสี่ยงด้านสุขภาพ นั่นก้คือ "ประกันสุขภาพ" ซึ่งวันนี้จะมาแนะนำประกันจากสุขใจ สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่อายุน้อยๆ เพราะเบี้ยประกันของสุขใจนั้นถือได้ว่าเป็นเบี้ยประกันที่ราคาดี เหมาะสมกับช่วงอายุ แถมยังคุ้มค่ากับความคุ้มครองอีกด้วย

ไม่ว่าฝุ่น PM 2.5 จะมีปริมาณสูงมากน้อยแค่ไหน ล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งนั้น การดูแลตนเอง พยายามนำตัวเองไม่ให้สูดดมกับมลพิษทางอากาศ รวมถึงหาสิ่งที่มาช่วยป้องกันอย่างเช่น สวมหน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐาน รวมถึงดูแลคนรอบข้างและผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยง ให้ห่างไกลจากฝุ่นพิษนี้ได้ หากพบความผิดปกติกับทั้งร่างกายตนเองหรือคนที่คุณรัก แนะนำให้เข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยเพื่อการรักษาต่อไป และที่สำคัญหาแผนรองรับความเสี่ยงด้านสุขภาพโดยการทำประกันสุขภาพไว้ เพื่อมาสนับสนุนค่าใช้จ่ายในด้านสุขภาพ หากเมื่อต้องมีการรักษาพยาบาลในอนาคต

สวัสดี SAWADDEE.COM – 🚀 เปรียบเทียบประกันไวใน 2 วิ ซื้อง่าย คุ้มครองครบ คัดสรรดีลที่ดีที่สุด จากแบรนด์ชั้นนำ อาทิ รู้ใจ เมืองไทยประกันภัย MSIG วิริยะ ประกันภัย ERGO Allianz เทเวศ ธนชาติ โตเกียวมารีน SOMPO ผ่อนนานสูงสุด 10 เดือน

คลิกเช็คเลย เว็บไซต์สวัสดี https://sawaddee.com/motor LINE: @sawaddee.com หรือโทรหาเรา 0882226651

#ประกันสุขภาพเหมาจ่าย #ประกันภัย #ประกันรถยนต์ #ประกันรถยนต์ผ่อนได้ #ประกันเดินทาง #ประกันมะเร็ง #ประกันอัคคีภัย #ประกันอุบัติเหตุ #ประกันรถยนต์ชั้น1 #ประกันรถEV

Sawaddee Update!

อัปเดททุกเรื่องราว เกี่ยวกับสิ่งที่คุณควรรู้

เลือกแผนไม่ถูก?

เพียงฝากข้อมูลไว้ เราจะติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด

ข้าพเจ้าให้ความยินยอมกับบริษัทฯ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าในการติดต่อเพื่อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ และรับรองว่าได้อ่านและรับทราบ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แล้ว

บริษัท สวัสดีคอร์ปอเรชั่น จำกัด

ช่องทางติดต่อ